การกรอบกู้เอกราช

ความสำคัญของสุพรรณบุรี ใน การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ชัยชนะ แห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอน เจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุก ปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดี ไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประวัติจังหวัดสุพรรณบุรี


สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 - 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี" ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่ง ใต้ หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อ เมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัย ขุนหลวงพะงั่ว เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ถูกทำลาย ปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมือง สุพรรณได้ฟื้นตัว และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่ น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรี ในด้านประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ชัยชนะ แห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอน เจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุก ปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดี ไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น
สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ อดีต เมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิม เมืองพันธุมบุรี ในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดี ได้จารึก ชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือและนาม "สุพรรณภูมิ"ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรี จึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวง ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คำขวัญจังหวัดสุพรรณบุรี


เมืองยุทธหัตถี
วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง
รุ่งเรืองเกษตรกรรม
สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน
ภาษาถิ่นชวนฟัง

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การเมืองการปกครองของไทย

ประวัติการเมืองการปกครองของไทย
ประเทศไทยมีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่งสมัยสุโขทัยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยก็เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกัน การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย(1781-1921) อาณาจักรสุโขทัยมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ยุด คือ ยุดแรก ปกครองแบบพ่อปกครองลูก คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า “พ่อขุน” นำหน้า ลักษณะเด่น -มีพลเมืองน้อยปกครองง่าย มีความใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ ยุคกลาง ปกครองแบบจักรพรรดิ คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า “พญา” นำหน้า ลักษณะเด่น มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ยุคปลาย ปกครองแบบธรรมราชา คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า “พระมหาธรรมราชาที่”นำหน้า ลักษณะเด่น -นำเอาหลักธรรมของศาสนาพุทธในเรื่องการเป็นผู้นำผู้ปกครองมา ใช้ควบคุมพฤตกรรมพระมหากษัตริย์ คือ “ทศพิธรรม”

ประเทศไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมา ที่ยาวนานชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การศึกษาประวัติการเมืองการปกครองของไทย จึงเริ่มตั้งแต่ที่ไทยได้ตั้งอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นในปี พ.ศ.1781 โดยอาณาจักรแรกของไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง
การเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว

สถานที่ตั้ง

หน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
ตั้งอยู่ที่ บ้านสูเนิน หมู่ 4
ตำบล ปางช่อง
อำเภอ จอมบึง
จังหวัด ราชบุรี
70150

อำนาจหน้าที่

1. เก็บภาษีที่ดิน
2. เภ็บภาษีโรงเรือน
3. เก็บภาษีป้าย
4. งานที่เกี่ยวกับประชากรพื้นที่ทั้งหมด
5. พัฒนาท้องที่ให้มีความเจริญก้าวหน้า

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี


@ องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง @

@ องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง @

ประวัติความเป็นมา :
ตำบลปากช่อง เมื่อเอ่ยถึงปากช่อง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในความแตกต่างย่อมมีความเหมือนแฝงไว้เสมอ สิ่งที่เหมือนกันของสถานที่ทั้งสองแห่งนี้ก็คือ เป็นประตูไปสู่จังหวัดนครราชสีมา และเป็นประตูไปสู่อำเภอจอมบึง เช่นเดียวกัน ตำบลปากช่อง เป็นตำบลหนึ่งในหกตำบลของอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เดิมทีนั้น เรียก บ้านปากช่อง-ทุ่งพิทาบ สาเหตุที่เรียกปากช่องนั้นจากคำบอกเล่าของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า "อดีตที่ผ่านมาปากช่องนั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ บนเส้นทางสู่ป่าหรือกิ่งอำเภอจอมบึง สมัยก่อนยังภูมิประเทศป่าทึบ การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้ที่เดินทางไปอำเภอจอมบึงและสวนผึ้ง หรือจากจอมบึงและสวนผึ้งไปจังหวัดราชบุรี จะเดินทางด้วยม้าหรือเกวียนจะต้องผ่านหมู่บ้านปากช่องนี้ก่อน เหตุที่เรียกหมู่บ้านนี้ว่า ปากช่อง หมายถึง ช่องทางที่จะเข้าไปสู่ป่า ซึ่งผู้เดินทางเหล่านั้นจะต้องพักค้างคืนที่ปากช่องหนึ่งคืนเสมอ

สภาพทั่วไปของตำบล :
องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอจอมบึง และอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดราชบุรี ระยะทางห่างจากจังหวัดราชบุรีประมาณ 28 กม. และห่างจากที่ว่าการอำเภอจอมบึงประมาณ 12 กิโลเมตร

อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ จรด ต.ธรรมเสน ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรีทิศใต้ จรด ต.จอมบึง อ.จอมบึง และต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรีทิศตะวันออก จรด ต.เขาแร้ง ต.เกาะพลับพลา ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรีทิศตะวันตก จรด ต.จอมบึง ต.เบิกไพร อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 8,515 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,937 หลังคาเรือน

ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง เพาะเลี้ยงเห็ด

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1.วัด 11 แห่ง
2.สำนักสงฆ์ 3 แห่ง
3.โรงเรียน 8 แห่ง
4.สถานีอนามัย 3 แห่ง
5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง
6.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง

น่ารักจัง